TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 2 june 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 672 ครั้ง

Reversed Mortgage ทางเลือกของผู้สูงอายุ

Reversed Mortgage ทางเลือกของผู้สูงอายุ

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างเต็มตัวเมื่อเปรียบเทียบ กับเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ซึ่งกำหนดว่า การก้าวเข้าสู่ Aging Society หมายถึงสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากร ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี เกินกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2554 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นจำนวน 8,266,304 คน ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 12.2 และคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในช่วงทศวรรษ ที่ผ่านมา รัฐจึงมีความพยายามที่จะสร้างความพร้อมเพื่อให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับการเป็นสังคม ผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว โดยในวันที่ 13 มกราคม 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีการวางนโยบายในเรื่องดังกล่าวไว้ 3 ส่วน อันได้แก่ นโยบายที่สนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย และมีศักดิ์ศรี นโยบายการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ และนโยบายการส่งเสริมประกันรายได้ที่มั่งคงและยั่งยืน พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ไขกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว สำหรับนโยบาย การส่งเสริมประกันรายได้ของผู้สูงอายุนั้น ที่ผ่านมารัฐได้พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะพัฒนากฎหมายที่ช่วยให้ ผู้สูงอายุมีรายได้ในการดำรงชีวิต อาทิ การตราพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 เพื่อสร้างระบบการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เมื่อเราหันไปพิจารณาประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงสังคมที่มีประชากร อายุเกิน 60 ปีเป็นจำนวนร้อยละ 20 ขึ้นไปของประชากรโดยรวมทั้งประเทศแล้วจะพบว่า นอกจากการดำเนิน นโยบายภาครัฐเพื่อส่งเสริมการมีรายได้ของผู้สูงอายุแล้ว ภาคการเงินยังได้สร้างเครื่องมือทางการเงินเพื่อ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุประกอบกันด้วย หนึ่งในนวัตกรรมทางการเงินดังกล่าวได้แก่ Reverse Mortgage ซึ่งมีลักษณะเป็นสินเชื่อประเภทหนึ่ง โดยเมื่อแปลตรงตัวจะหมายถึงสินเชื่อที่มีลักษณะตรงกัน ข้ามกับสินเชื่อที่อยู่อาศัย นั่นหมายความว่า โดยทั่วไป ผู้กู้จะขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อนำไปซื้อบ้าน โดยจะต้อง ผ่อนจ่ายค่าบ้านเป็นรายเดือน ส่วนสถาบันการเงินก็จะได้บ้านดังกล่าวเป็นหลักประกัน ในขณะที่ Reverse Mortgage ผู้กู้จะนำบ้านที่ตัวเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไปวางเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงิน และ สถาบันการเงินจะจ่ายเงินให้กับผู้กู้โดยจะเลือกได้รับเป็นก้อน (Lump sum) หรือเป็นรายเดือน หรือเป็น Line of Credit ก็สุดแท้แต่ โดยสินเชื่อที่จะครบกำหนดเมื่อผู้กู้เสียชีวิต เพื่อให้ผู้กู้ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านนำเงิน ดังกล่าวไปใช้จ่ายในบั้นปลายของชีวิต ดังนั้น หนึ่งในเงื่อนไขของผู้ขอสินเชื่อ Reverse Mortgage จึงไม่ใช่ การพิจารณาความสามารถในการชำระคืนหนี้ แต่เป็นการกำหนดอายุของผู้ขอสินเชื่อ โดยในประเทศ สหรัฐอเมริกา ผู้ขอสินเชื่อ Reverse Mortgage ได้ต้องมีอายุตั้งแต่ 62 ปีขึ้นไป และ 55 ปีขึ้นไปสำหรับ ประเทศแคนาดา เป็นต้น ทั้งนี้ วงเงินที่จะได้จากสินเชื่อ Reverse Mortgage จึงขึ้นอยู่กับมูลค่าของบ้าน บทความกฎหมายน่ารู้ [Type the sender company address]  [Type the sender phone number]  [Type the sender e-mail address] และเมื่อผู้กู้เสียชีวิตลงแล้ว สถาบันการเงินก็จะนำบ้านของผู้กู้ออกขาย หากมูลค่าบ้านที่ขายได้สูงกว่าวงเงิน สินเชื่อ Reverse Mortgage เงินส่วนต่างที่เหลือก็จะตกเป็นมรดกแก่ทายาทของผู้กู้ต่อไป ทั้งนี้ Reverse Mortgage อาจจะผูกกับการทำประกันแบบบำนาญเพื่อให้มีการจ่ายบำนาญเป็นรายงวดก็สามารถทำได้ เช่นกัน รูปแบบของการทำ Reverse Mortgage จึงมีความหลากหลายที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความ ต้องการของผู้กู้แต่ละรายได้ จากคุณลักษณะดังกล่าว Reverse Mortgage จึงมีประโยชน์ในฐานะนวัตกรรมทางการเงินที่จะ ช่วยรองรับการปรับเปลี่ยนของประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว โดยอาจเสนอให้สถาบันการเงิน เฉพาะกิจของรัฐดำเนินโครงการนำร่องในการให้บริการสินเชื่อ Reverse Mortgage ให้กับประชาชน ผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้ภาคสถาบันการเงินทั้งในภาคธนาคารพาณิชย์ ผู้ให้สินเชื่อ ตลอดจนภาคธุรกิจ ประกันภัย ให้สนใจในการให้บริการในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการแข่งขันเพื่อนำมาซึ่ง ประโยชน์ต่อประชาชนผู้สูงอายุโดยรวม