TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 26 may 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 858 ครั้ง

อุทาหรณ์ “กฎหมายแรงงาน” จีน กรณีศึกษาที่นักลงทุนไทยควรรู้

อุทาหรณ์ “กฎหมายแรงงาน” จีน กรณีศึกษาที่นักลงทุนไทยควรรู้

ใน การดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก คงหนีไม่พ้นเรื่องของแรงงานลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่ต้องดูแลลูกจ้างตามสิทธิที่พวกเขาควรจะได้รับตลอดการทำ งานให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับของประเทศนั้นๆ โดยกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงก็คือ "กฎหมายแรงงาน" (Labor Law) นั่นเอง 

คำนิยามของ "กฎหมายแรงงาน" หมายถึง กฎหมาย ที่รัฐบัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่เพื่อให้สอดคล้องและเกิดความเป็นธรรม ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้วยความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยดี ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร 

แน่ นอนว่า...ไม่ใช่แค่นายจ้างเท่านั้นที่จำเป็นจะต้องศึกษาทำความเข้าใจและ ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ตัวลูกจ้างเองก็จำเป็นต้องศึกษา 'กฎหมายแรงงาน' และ 'กฎหมายสัญญาแรงงาน' ไว้บ้างเช่นกัน 

วันก่อน บีไอซี (BIC) ได้พบเห็นข่าวเกี่ยวกับกรณีตัวอย่างข้อพิพาทและการละเมิดกฏหมายแรงงานจีนบนหน้าสื่อที่สหพันธ์แรงงานจีน หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ACFTU ได้นำมาเปิดเผย ซึ่งมีความน่าสนใจพอสมควร ดังนั้น จึงขอถือโอกาสนำมาแชร์เป็นกรณีศึกษาให้กับผู้อ่านที่กำลังสนใจหรือผู้ที่ได้ เข้ามาลงทุนในเมืองจีนแล้ว 

สิ่งหนึ่งที่พวกเราสังเกตเห็นได้ชัดเกี่ยวกับคดี 'ฉาว' ด้านแรงงานที่เกิดขึ้นในประเทศจีน มักพบว่าเกิดขึ้นกับ "สตรี" และ "เด็ก" เสียเป็นส่วนมาก เพราะประเด็นด้านสิทธิเด็กและสตรีมักถูกหยิบยกขึ้นมาพูดและอยู่ในความสนใจ ของสังคมจีนไม่น้อย 

 

ที่มา: http://news.sohu.com/

เช่นในคดีการ "เหยียดเพศ" ของนักศึกษาสาวจบใหม่รายหนึ่งที่ถูกปฏิเสธการสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งงาน ด้านเอกสารจากโรงเรียนสอนทำอาหารชื่อดังในนครหังโจว ด้วยเหตุที่ตนเป็น "เพศหญิง" จึงเป็นเหตุให้นักศึกษาสาวดังกล่าวฟ้องร้องดำเนินคดีกับโรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งศาลได้พิจารณาตัดสินว่าจำเลยมีความผิดในลักษณะกีดกันทางเพศและริดรอนสิทธิความเสมอภาคในการเข้าทำงาน!! และ ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางจิตใจ จำนวนเงิน 2,000 หยวนให้แก่นักศึกษารายนี้ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นจำนวนเงินไม่มาก ทว่า ส่งผลกระทบต่อประวัติและภาพลักษณ์ขององค์กรไปตลอด 

เหตุการณ์บีบ 'หญิงท้อง' ออกจากงาน เป็น เรื่องที่เกิดขึ้นกับลูกจ้างหญิง 3 คนที่กำลังตั้งครรภ์ของบริษัทแห่งหนึ่งในมณฑลเจียงซูที่บอกให้พวกหล่อนหยุด พักผ่อนอยู่กับบ้านก่อน โดยจะแจ้งให้กลับมาทำงานอีกครั้งภายหลังผลประกอบการบริษัทกลับฟื้นตัวขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมาบริษัทดังกล่าวไม่ได้เรียกให้ลูกจ้างทั้งสามคนกลับมาทำงาน แถมขู่เข็ญให้พวกหล่อนเขียนใบลาออก มิฉะนั้นจะย้ายให้พวกหล่อนไปทำงานในสายการผลิตที่ต้องใช้แรงงานหนัก ทำให้สาวท้อง 3 รายนี้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานคุ้มครองแรงงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสหภาพแรงงาน สมาพันธ์สตรี และกรมควบคุมแรงงานที่ได้มีหนังสือสั่งการให้บริษัทเร่งแก้ไขพฤติกรรมอันมิ ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว แต่บริษัทกลับแสดงท่าทีเมินเฉยจนเกิดคดีฟ้องร้องในชั้นศาลในเวลาต่อมา 

อีกหนึ่งประเด็นที่มักปรากฎตามสื่อต่างๆ คือเรื่องของการใช้ “แรงงานเด็ก” ซึ่งไม่เว้นแม้แต่ในจีน เมื่อปีที่แล้ว (ปี 57) องค์กรChina Labor Watch ซึ่ง เป็นกลุ่มเอ็นจีโอที่ติดตามสถานการณ์ละเมิดสิทธิแรงงานในประเทศจีน ได้ออกมาแฉข่าวการใช้แรงงานเด็กของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ให้กับแบ รนด์ซัมซุง (Samsung) หลายต่อหลายครั้ง โดยล่าสุดบริษัท Shinyang Electronics เป็นอีกหนึ่งรายที่ถูกรายงานว่ามีการจ้างแรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี รายงานดังกล่าวยังไม่รวมถึงยังการละเมิดกฎหมายแรงงานอีกหลายประเด็น เช่น ไม่จ่ายค่าแรงล่วงเวลา ใช้ทำงานเกินเวลา ไม่มีประกันสังคม รวมทั้งยังไม่มีการฝึกอบรมแก่พนักงานอีกด้วย 

การละเมิดกฎหมายแรงงานในจีน (จริงๆ ก็คล้ายกันทั่วโลก) ยังสะท้อนออกมาในรูปของการ 'ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน ซึ่งนำความขัดแย้งระหว่าง 'นายจ้าง VS ลูกจ้าง' รวมถึงบรรยากาศอึมครึมในการทำงาน 

 

ที่มา: http://news.hexun.com/

"สัญญาว่าจ้าง" เป็นเอกสารหลักฐานที่สำคัญที่กำหนดสิทธิหน้าที่และเป็นหลักประกันให้กับทั้งนายจ้างกับลูกจ้าง แต่ไม่ใช่ สัญญา 'ทาส' อย่างที่บริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งในมณฑลเสฉวนทำกับพนักงาน โดยสัญญามีลักษณะที่ไม่เป็นธรรม จนสุดท้ายบริษัทแห่งนี้ต้องตกเป็นจำเลยถูกฟ้องดำเนินคดีไปตามระเบียบ 

ข้อ ความในสัญญา(ทาส)นี้ก็เช่น พนักงานจะไม่ปฏิเสธงานที่ได้รับมอบหมายไม่ว่าด้วยเหตุผลประการใด รวมถึงการไปเอ็นเตอร์เทนลูกค้า / พนักงานยินยอมสละวันหยุดเพื่อทำงานในวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ยกเว้นเทศกาลตรุษจีน)  / พนักงานทำงานแบบไม่มีเวลาเลิกงาน / พนักงานที่เข้าทำงานสายจะถูกหักเงินค่าตอบแทนนาทีละ 130 หยวน / พนักงานจะต้องวางเงินมัดจำมูลค่า 2 หมื่นหยวน โดยยินยอมให้บริษัทหักเงินในอัตราร้อยละ 30 ของเงินเดือนจนกว่าจะครบตามจำนวน  แล้วแบบนี้จะไม่ให้เรียกว่า "สัญญาทาส" ได้ยังไง.. 

เรื่องของ "สวัสดิการ" และ "ค่าแรงขั้นต่ำ" เป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ส่วนตัวที่มีความอ่อนไหวค่อนข้าง มากเช่นกัน ตัวอย่างคดีการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับบริษัทขนาดกลาง และขนาดเล็กเท่านั้น บริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจน้ำดำอักษรย่อ "P" ในนครฮาร์บินมณฑลเฮยหลงเจียงก็เป็นไปกับเขาด้วย โดยพนักงานในโรงงานถูกปรับลดสวัสดิการ "เงินอุดหนุนระบบทำความร้อน" จนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ทางรัฐบาลท้องถิ่นกำหนดไว้ 

การละเมิดกฎหมาย "ค่าแรงขั้นต่ำ" คดีที่เกิดขึ้นกับลูกจ้างของบริษัทผลิตเพลารถยนต์ในมณฑลฝูเจี้ยน (ทุนฮ่องกง) เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่าทั้งสองฝ่ายตกลงจ้างแบบจ่ายตามชิ้นงาน ในช่วงที่ผลประกอบการบริษัทไม่สู้ดี ปริมาณงานมีน้อย บริษัทมีการคิดค่าตอบแทนตามชิ้นงานและจ่ายค่าแรงให้คนงานดังกล่าวเพียงเดือน ละ 90 หยวน ต่อมาบริษัทแห่งนี้ได้บอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างเหตุผลว่าพนักงานคนดังกล่าว ไม่ตอกบัตรเข้าทำงาน ร้อนถึงสหภาพแรงงานท้องถิ่นยื่นมือเข้าช่วยเหลือ และศาลได้ตัดสินให้บริษัทดังกล่าวจ่ายเงินส่วนต่างจากเงินเดือนขั้นต่ำให้กับลูกจ้าง 

 

ที่มา: http://www.baxue.com

ถูก 'เบี้ยวค่าแรง' เป็นภาพชีวิตแรงงานลูกจ้างจีนที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง ลูกจ้างตาดำๆ รวมตัวพร้อมอุปกรณ์ทวงหนี้อย่างป้ายกระดาษหรือขึงผ้าแดงผ้าขาวที่มีข้อความ ประมาณว่า..เอาเงินของ(ชั้น)คืนมา!! 

เหตุการณ์ 'ทวงหนี้' ที่ กลายเป็นข่าวใหญ่ในจีนต้องยกให้กับเหตุการณ์ที่บริษัทก่อสร้างและบริษัทผู้ รับเหมารายย่อยในมณฑลส่านซีค้างจ่ายค่าแรงคนงานมากกว่า 100 คน ซึ่งภายหลังการเจรจา ทางบริษัทผู้จ้างได้ให้คำมั่นว่าจะจ่ายค่าแรงให้โดยเร็วที่สุด แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อบริษัทได้ว่าจ้างให้กลุ่มคนพร้อมอาวุธเป็นไม้กระบองและเหล็กท่อนกว่า 30 คนเข้าทุบตีทำร้ายและกักขังหน่วงเหนี่ยวกลุ่มคนงานที่พวกเขานัดให้มารับค่า แรง จนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 20 คน คดีทางแพ่งเลยกลายเป็น 'คดีอาญา' บริษัทเจ้าปัญหาต้องรับผลจากการกระทำตามกฎหมายขั้นรุนแรง 

"ทางออกในกรณีนายจ้างเหนียวหนี้ไม่ยอมจ่ายค่าแรง ลูกจ้างสามารถใช้กลไกติดตามทวงหนี้ผ่านสหภาพแรงงานของบริษัท หรือองค์กร/หน่วยงานคุ้มครองแรงงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมแรงงาน สำนักงานอุตสาหกรรมและการค้า (SAIC) สมาพันธ์สตรี" 

กรณีการตกเป็น "ผู้ถูกกระทำ" ของบรรดาลูกจ้างในจีนยังไม่หมดเท่านี้ บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำรายหนึ่งในมณฑลอันฮุยได้ปฏิเสธการทำ สัญญาจ้างและไม่จ่ายค่าประกันสังคมใดๆ ให้กับลูกจ้าง ซึ่งภายหลังผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้บริษัทแห่งนี้ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างเป็นจำนวนสองเท่าของเงินเดือนตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาการจ้างงาน เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 21,774 หยวน (แสนกว่าบาท) 
 

 

ที่มา: http://news.hexun.com/

สุดท้าย เป็นเรื่องของ 'ความปลอดภัย' ในการทำงานตามที่กฎหมายแรงงานได้ระบุไว้ว่า นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้างทำงานด้วยความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยดี แต่ทว่า ปัจจุบัน ผู้ประกอบการบางส่วนยังคง 'มองข้าม'ความปลอดภัยในกระบวนการผลิตและมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยแรงงาน 

"เครื่อง จักรอุปกรณ์เก่า สิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่ดี แรงงานต้องเผชิญกับภาวะฝุ่นละออง เสียงดัง อุณหภูมิสูง รวมถึงอันตรายจากมลภาวะเป็นพิษ อุบัติเหตุจากการทำงาน และโรคภัยเนื่องจากอาชีพ (Occupational disease) ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อชีวิตและร่างกาย" 

กรณี ตัวอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อ ส.ค. 2557 เกิดเหตุระเบิดอย่างรุนแรงในโรงงานผลิตโลหะแห่งหนึ่งในเมืองคุนซานของมณฑล เจียงซู (ทุนไต้หวัน) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 146 ราย เป็นอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อในกระบวนการผลิต ได้ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าถึง 351 ล้านหยวน ซึ่งรัฐบาลกลางได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบเพื่อติดตามผู้รับผิดชอบที่เกี่ยว ข้องทุกฝ่าย ซึ่งบุคคลผู้รับผิดชอบตามกฎหมายและประธานกรรมการบริษัทสลัดความผิดชอบไม่พ้นตัวเป็นแน่แท้แล้ว

 


บทส่งท้าย 

ใน ยุคที่เศรษฐกิจชะลอตัว นายจ้างเจ้าเล่ห์บางรายอาจฉวยโอกาสจากลูกจ้าง (ตาดำๆ) ไม่ว่าจะด้วยเหตุจูงใจประการใดก็ตาม ดังนั้น หากลูกจ้างทราบถึงขอบเขตสิทธิของตนที่ได้ระบุไว้ในกฎหมายแรงงาน ก็จะช่วยให้ลูกจ้างเหล่านี้รอดพ้นจากการถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบได้ ซึ่งสาระสำคัญที่ลูกจ้างควรรู้ในกฎหมายแรงงาน เช่น วันหยุด วันลา ค่าตอบแทน ค่าชดเชย และสวัสดิการต่างๆ ที่ลูกจ้างพึงได้รับนั่นเอง 

การ เป็นนายจ้างก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่ง ครัด เพื่อปกป้องชีวิตและสุขภาพของแรงงานลูกจ้าง กระบวนการผลิตต้องมีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกจ้าง มิใช่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนมากจนเกินความพอดี ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก : 

" ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง  ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"