TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 31 july 2562
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 634 ครั้ง

สัญญาจ้างมุ่งผลสำเร็จของงานทั้งหมด ... เมื่องานไม่ถูกต้องตามสัญญา

                   สัญญาจ้างมุ่งผลสำเร็จของงานทั้งหมด ... เมื่องานไม่ถูกต้องตามสัญญา ผู้ว่าจ้างไม่ต้องชำระค่าจ้าง ?

 

            ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก บัญญัติว่า “เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้ เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่

           ”และวรรคสาม บัญญัติว่า “ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้ และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ หรือถ้าใน สัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น

           ” ถ้าสัญญาจ้างระหว่างส่วนราชการ (ผู้ว่าจ้าง) กับเอกชน (ผู้รับจ้าง) มุ่งที่ผลสำเร็จของงานทั้งหมด พร้อมกันเป็นสำคัญ และเฉพาะเพื่อการใช้งานตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างเท่านั้น ไม่ได้รองรับการใช้งานสำหรับ กิจกรรมอื่น หากผู้รับจ้างได้ส่งมอบงานตามสัญญา แต่วัสดุที่ใช้ไม่ถูกต้องตามสัญญาและไม่สามารถใช้ ประโยชน์จากงานที่ว่าจ้างตามสัญญาได้ ส่วนราชการผู้ว่าจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับเอกชนผู้รับจ้างตามส่วนของ งานที่ทำไปแล้ว  ตามมาตรา 391 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ ?

            เช่น ส่วนราชการ (โรงเรียน) ได้ทำสัญญาจ้างเหมาห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ปรับปรุงสนามกีฬาพร้อมอุปกรณ์ โดยมีหนังสือค้ำประกัน ของธนาคารเป็นประกัน แต่เมื่อส่งมอบงานและได้มีการตรวจสอบงานจ้างปรากฏว่างานจ้างไม่ครบถ้วน ถูกต้องตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา วัสดุไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความเหมาะสมในการ ใช้ประโยชน์เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง ส่วนราชการจึงแจ้งบอกเลิกสัญญาจ้างและไม่จ่ายค่าจ้าง พร้อมทั้งลอกแผ่นยางสังเคราะห์ (EVA) และเก็บอุปกรณ์กีฬา วัสดุครุภัณฑ์กีฬาทั้งหมดไว้เพื่อรอส่งคืนให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. อุทธรณ์คำสั่งการบอกเลิกสัญญาจ้าง และต่อมาได้นำคดีมาฟ้องต่อ ศาลปกครองเพื่อเรียกร้องให้ส่วนราชการชำระค่าจ้างและให้คืนหนังสือค้ำประกัน ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาจ้างเป็นการจ้างเหมาปรับปรุงสนามกีฬาตามแบบ กำหนดรายการก่อสร้างงาน โดยสัญญามิได้กำหนดให้ส่งมอบงานเป็นงวด ๆ สัญญานี้จึงมุ่งที่ผลสำเร็จของงานทั้งหมดเป็นสำคัญ เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ผู้รับจ้าง (ผู้ฟ้องคดี) ส่งมอบงาน โดยปรากฏว่าแผ่นยาง สังเคราะห์ที่นำมาติดตั้งบนพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อประกอบเข้าเป็นพื้นสนามกีฬา มิได้เป็นแผ่นยางสังเคราะห์ สำหรับใช้งานกลางแจ้ง แต่เหมาะสำหรับใช้งานในที่ร่ม แผ่นยางจึงบวม โก่งงอ ไม่เรียบ อันไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ในสัญญาจ้างและไม่ได้มาตรฐาน งานก่อสร้างลานคอนกรีตเสริมเหล็กเกิดการแตกร้าวหลายจุด เหล็กตะแกรง มีความลึกและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ได้ตามแบบรูปรายการ เมื่อส่วนราชการผู้ว่าจ้าง (ผู้ถูกฟ้องคดี) มุ่งประสงค์ในผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน แต่ผู้ฟ้องคดีส่งมอบงานที่ไม่แล้วเสร็จพร้อมกัน จึงไม่สามารถ ตรวจรับมอบงานทั้งหมด รวมถึงพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กด้วย ประกอบกับรูปแบบลานคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นได้ ออกแบบให้ใช้เฉพาะการก่อสร้างสนามฟุตซอล สนามวอลเลย์บอล และสนามตะกร้อเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบ เพื่อรองรับการใช้งานส าหรับกิจกรรมอื่น จึงเห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการงานได้ ตามมาตรา 391 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อลานคอนกรีตเสริมเหล็กไม่เป็นการงานที่เป็นประโยชน์และผู้ฟ้องคดียังต้องรับผิดชอบใน การไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากงานจ้างที่ไม่แล้วเสร็จ ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่จำต้องชำระ ค่าการงานและไม่จำต้องคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามสัญญา พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีคืนแผ่นยาง สังเคราะห์ (EVA) อุปกรณ์กีฬา และวัสดุครุภัณฑ์กีฬาทั้งหมดให้แก่ผู้ฟ้องคดี  (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 616/2561)

               คดีนี้จึงถือเป็นบรรทัดฐานที่ดีสำหรับผู้รับจ้างตามสัญญาที่มุ่งผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกันเป็น สำคัญและประสงค์ในผลสำเร็จของงานเฉพาะเพื่อการใช้งานตามสัญญาจ้างเท่านั้น ไม่ได้รองรับการใช้งานสำหรับ กิจกรรมอื่นว่า หากผู้รับจ้างส่งมอบงานไม่เป็นไปตามสัญญา หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายปกครองมีสิทธิ บอกเลิกสัญญา ไม่คืนหลักประกันสัญญา และไม่จ่ายค่าจ้างในส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำไปแล้วนั้นได้