TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 2 march 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 3486 ครั้ง

การระงับการจ่ายโบนัสเนื่องจากการลาออกของลูกจ้าง

ก่อนอื่นต้องพิจจารณาก่อนว่าโบนัสกับค่าจ้างเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่นั้น ซึ่งกฎหมายแรงงานให้คำนิยามคำว่าค่าจ้างดังนี้

                 ค่าจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕  ให้คำจำกัดความไว้ว่า 

   "ค่าจ้าง"  หมายความว่าเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวันรายสัปดาห์รายเดือนหรือระยะเวลาอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานและให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้

   "ค่าจ้างในวันทำงาน"   หมายความว่าค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ

                  "อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ"  หมายความว่าอัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้

  "อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน" หมายความว่าอัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนด อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

           "การทำงานล่วงเวลา"  หมายความว่าการทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่   นายจ้างลูกจ้างตกลงกันตามมาตรา๒๓ในวันทำงานหรือวันหยุดแล้วแต่กรณี

 "ค่าล่วงเวลา" หมายความว่าเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน

 "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด"   หมายความว่า   เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

                   

           โบนัสดังกล่าวเป็นค่าจ้างหรือไม่ ถ้าไม่ใช่นายจ้างมีสิทธิไม่จ่าย แต่ถ้าเป็นค่าจ้างจะต้องจ่ายเพราะนายจ้างไม่จ่ายไม่ได้ กฎหมายแรงงานห้ามหักค่าจ้างซึ่งมีโทษ

ซึ่งตามกฎหมายให้นิยามคำว่าโบนัสคือโบนัสเฉลี่ยรายปี เป็นเงินที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้  นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างจะกำหนดหลักเกณฑฺ์และวิธีการจ่ายอย่างใดนั้นแล้วแต่นายจ้างจะเป็นผู้กำหนดและมีจำนวนที่ไม่แน่นอน จึงไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน

ซึ่งแนวคำพิพากษาได้กล่าวเอาไว้ว่าเงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้างเพราะฉะนั้น เมื่อลูกจ้างลาออกจากงาน นายจ้างไม่ต้องจ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้าง  

ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 6961/2546

เงินบำเหน็จกรรมการธนาคาร เงินรางวัล (โบนัสพิเศษ) เงินค่าพาหนะ เบี้ยประชุม และเงินรางวัลพิเศษ (โบนัสจากงบลับเฉพาะผู้บริหาร) ไม่ใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่ค่าจ้าง ส่วนเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับในฐานะเป็นประธานกรรมการบริษัทที่จำเลยถือหุ้น ไม่ใช่จำเลยเป็นผู้จ่าย และโจทก์ไม่ได้รับในฐานะลูกจ้างจึงไม่เป็นค่าจ้าง