TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 14 july 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 651 ครั้ง

ทรัพย์สินทางปัญญา...ด่านสุดท้ายสู่หลักประกันทางธุรกิจ

ทรัพย์สินทางปัญญา...ด่านสุดท้ายสู่หลักประกันทางธุรกิจ

 

ตอนนี้นับว่าเป็น Talk of the town ทีเดียว โดยเฉพาะในหมู่สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ ส าหรับกฎหมายฉบับใหม่ที่เพิ่งออกจากเตาอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาสดๆ ร้อนๆ อย่างหลักประกันทางธุรกิจ วันนี้จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับตัวล็อกตัวสุดท้ายของกฎหมายฉบับนี้กันค่ะมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ก าหนดว่าทรัพย์ที่จะน ามาเป็นหลักประกันได้นั้น มีอยู่ 6 ประเภท และหนึ่งในนั้นก็คือ “ทรัพย์สินทางปัญญา” แต่เราจะน าทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นหลักประกันได้อย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่าทรัพย์สินทางปัญญานั้นตีเป็นราคาแล้วเท่ากับกี่บาท?สมมติง่ายๆ ว่า มีคนเดินมาถามท่านผู้อ่านว่า “เครื่องหมายการค้า Starbucks มีราคาเท่าไหร่?” ท่านจะตอบว่าอย่างไรกันคะ

การประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะฟังดูไม่คุ้นหูส าหรับคนไทย แต่รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยเคยมีประสบการณ์คดีความในเรื่องนี้มาแล้ว ซึ่งจะเล่าในล าดับถัดไป ก่อนอื่นเรามาท าความรู้จักกระบวนการคร่าวๆในการประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญาจากต่างประเทศกันทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ การจะประเมินราคาจึงต้องน าทรัพย์สินที่จับต้องได้มาเทียบเคียง ซึ่งมีอยู่ 3 วิธีหลัก ได้แก่

1. การประเมินจากรายได้ (Income approach) คือการพิจารณาจากความสามารถในการก่อให้เกิด

รายได้ของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ นิยมใช้กับการประเมินทรัพย์สินจ าพวกสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์

2. การประเมินจากราคาตลาด (Market approach) คือการพิจารณาจากราคาตลาดของทรัพย์สินทางปัญญาที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งราคานี้จะถูกก าหนดขึ้นภายใต้สมมติฐานที่ว่าเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะปกติและมีการแข่งขันทางการตลาดที่สมบูรณ์ แต่สภาวะดังกล่าวไม่มีอยู่จริง วิธีนี้จึงไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใดนัก

3. การประเมินจากค่าใช้จ่าย (Cost approach) คือการพิจารณาจากค่าใช้จ่ายในการสร้างหรือพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ ขึ้นมา วิธีนี้มีความแม่นย าน้อยที่สุดจึงไม่ได้รับความนิยมและมักเป็นวิธีสุดท้ายที่ผู้ประเมินราคาเลือกใช้

ย้อนกลับมาที่ประสบการณ์ของประเทศไทย ก่อนอื่นจะขอแนะน าตัวละครฝ่ายต่างๆ ซึ่งในบทความนี้จะใช้เป็นอักษรย่อแทนเนื่องจากแต่ละฝ่ายยังคงมีบทบาทส าคัญในวงการธุรกิจของไทยอยู่ ณ ปัจจุบันนี้

บริษัท R = เจ้าของเครื่องหมายการค้า R

ธนาคาร S = เจ้าหนี้รายที่หนึ่งของบริษัท R

บริษัท X = เจ้าหนี้รายที่สองของบริษัท R

เมื่อหลายสิบปีก่อน บริษัท R ถูกฟ้องล้มละลายโดยเจ้าหนี้รายหนึ่ง ทรัพย์สินของบริษัท R ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงเครื่องหมายการค้า R ด้วยธนาคาร S ได้รับโอนเครื่องหมายการค้า R มาด้วยมูลค่า 1 แสนบาทซึ่งนับว่าต่ ามากเมื่อเทียบกับ

ความสามารถในการก่อให้เกิดรายได้ของผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ ดังนั้นบริษัท X ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งจึงร้องต่อศาลเพื่อขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าว

บทความกฎหมายน่ารู้

[Type the sender company address]  [Type the sender phone number]  [Type the sender e-mail address]

ในเวลานั้น ประเทศไทยยังไม่รู้จักการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาว่าจะตีราคาออกมาเป็นตัวเลขได้อย่างไร บริษัท X จึงยื่นรายงานงบที่บริษัท R ใช้ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ผ่านๆ มา ว่าเพียงแค่งบที่ใช้โฆษณาก็มีมูลค่าหลายล้านบาทต่อปี เครื่องหมายการค้า R จึงย่อมมีมูลค่ามากกว่า 1 แสนบาท ศาลเห็นตามค าร้องของบริษัท X และได้มีค าสั่งเพิกถอนนิติกรรมการโอน เครื่องหมายการค้า R จึงถูกน าออกขายทอดตลาดและมูลค่าสุดท้ายจากการขายทอดตลาดของเครื่องหมายการค้านี้คือ 92 ล้านบาทหากพิจารณาตามหลักการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว จะเห็นว่าบริษัท Xและศาลใช้วิธีการประเมินแบบที่สาม คือการประเมินจากค่าใช้จ่ายในการสร้างหรือพัฒนาเครื่องหมายการค้านั้นขึ้นมา หรือก็คือค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นนั่นเองแม้ว่าการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยจะยังไม่เป็นที่รู้จักและยังไม่มีหลักการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน แต่หลังจากกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจมีผลบังคับใช้แล้ว เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องส าคัญเรื่องหนึ่งในวงการนักประเมินราคาทรัพย์สินของไทยอย่างแน่นอนค่ะ