TH | EN


วันที่เพิ่มข้อมูล : 27 june 2559
มีผู้เข้าชมทั้งหมด : 662 ครั้ง

ว่าด้วยเรื่องดอกเบี้ยที่คิดได้จากการกู้ยืมเงิน

ว่าด้วยเรื่องดอกเบี้ยที่คิดได้จากการกู้ยืมเงิน

                ดอกเบี้ย คือ ค่าตอบแทนที่ผู้กู้ยืมเงินตกลงจะใช้ให้แก่ผู้ให้กู้

                การกู้ยืมเงินคืออะไร ผุ้ให้ยืมตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในเงินตราให้แก่ผู้ยืมและผู้ยืมตกลงจะคืนเงินตราในจำนวนเดียวกันนั้นให้แทนเงินตราที่ยืมไป

                การขายฝาก การออกตั๋ว สัญญาใช้เงิน สัญญาขายลดเช้ค สัญญาชดใช้ค่าเสียหาย การเล่นแชร์เปียหวย สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี (สัญญา O/D)

                ฐานอำนาจการคิดดอกเบี้ย การกู้ยืมเงินและอัตราดอกเบี้ย

1.กรณีตกลงกันระหว่างคู่สัญญา

1.1 มาตรา .654 ปพพ (คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกิน ร้อยละ 15 ต่อ ปี ) 

1.2 พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 (คิดดอกเบี้ยได้เกิน ร้อยละ 15 ต่อปี )

2.กรณีไม่มีการตกลงกันระหว่างคู่สัญญา  มาตรา 7 ปพพ. (คิดดอกเบี้ยได้ ร้อยละ 7.5  ต่อปี )

3.ตกลงดอกเบี้ยเป็นอย่างอื่น?? 

     -ไม่ได้ เพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยตกเป็นโมฆะ

 4. คิดดอกเบี้ยทบต้นได้หรือไม่?

             -ได้ โดยมีเงื่อนไขว่า ดอกเบี้ยดังกล่าวต้องค้างชำระมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หากฝ่าฝืนเป็นโมฆะ

 5 .ใครคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกิน ร้อยละ 15 ?

             -ผู้ให้กู้ยืมเงินที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล

6.ใครคิดดอกเบี้ยได้เกินร้อยละ 15 ?

             -สถาบันการเงินตาม พรบ.ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523  เช่น ธนาคารพาณิชย์  ,ผู้ประกอบธุรกิจ Personal  loan ,ผู้ประกอบธุรกิจ Nano  Finance ,สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน  , สหกรณ์ออมทรัพย์ ,ธนาคารออมสิน  ,ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น

7.ดอกเบี้ย  รวมถึงค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมหรือไม่?

             -ไม่รวม เพราะค่าบริการและค่าธรรมเนียม ไม่ถือเป็นดอกเบี้ย

 8. ถ้าคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ?

             8.1 ต้นเงินได้คืนครบ (เฉพาะต้นเงินจริง ไม่รวมส่วนดอกเบี้ยที่ทบกับต้นเงิน)

             8.2 ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งหมด

             8.3 มีความผิดทางอาญา โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

             8.4 หากชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ย ทั้งๆที่รู้ว่าคิดดอกเบี้ยเกิน ผู้กู้เรียกดอกเบี้ยคืนจากผู้ให้กู้ไม่ได้ (ชำระหนี้ตามอำเภอใจ)